แชร์

ต่อเติมครัว ใช้เสาเข็มแบบไหนดี

อัพเดทล่าสุด: 18 มี.ค. 2024

เสาเข็มถือว่าเป็นส่วนสำคัญในงานก่อสร้างที่เราพบเห็นกันทั่วไป ไม่ว่าจะงานก่อสร้างขนาดใหญ่หรืองานก่อสร้างขนาดเล็ก โดยเสาเข็มนั้นทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวบ้านจากแรงต้านจากดินสองส่วนหลักๆ คือส่วนชั้นดินอ่อนและส่วนชั้นดินแข็ง ซึ่งปัญหาหลักๆของเจ้าของบ้านแบบเราๆนั้นคือ เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเสาเข็ม ว่าต้องใช้เข็มแบบไหน และเสาเข็มแต่ละแบบส่งผลต่อบ้านเรายังไง
เพราะฉะนั้นแล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จักเสาเข็มที่ช่างมักจะนำมาเสนอให้เราใช้ในงานต่อเติมครัวของบ้านเรากันดูว่า เสาเข็มแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และมีวิธีการทำงานยังไงในการป้องกันปัญหาการทรุดตัวในระยะยาว

โดยปกติแล้วหากต้องการต่อเติมครัวถ้าเราสามารถลงเสาเข็มถึงชั้นดินแข็งได้ย่อมเป็นเรื่องดี เพราะอัตราการทรุดตัวแทบจะไม่มี แต่การลงเสาเข็มแบบนี้นั้นต้องอาศัยพื้นที่ในการทำงานเยอะและค่าใช้จ่ายเยอะอีกด้วย เสาเข็มที่เหมาะกับงานนี้คือ

1.เสาเข็มไมโครไพล์

ไมโครไพล์หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่สามารถตอกได้ถึงชั้นดินแข็ง สามารถรับน้ำหนักงานก่อสร้างได้เยอะและแทบจะไม่มีโอกาสได้ทรุดตัว โดยปกติแล้วหน้างานช่างจะต่อเติมงาน 2 แบบ



1.1.ลงเข็มไมโครไพล์+ยึดตัวบ้าน

ข้อดีข้อเสีย
-  ลงได้ลึกถึงชั้นดินแข็งโอกาสทรุดตัวน้อย   
-  รับน้ำหนักได้เยอะ
-  ราคาสูง   
-  ต้องลงเข็มห่างจากขอบเสาหรือกำแพงโครงการ 50 ซม.

 


1.2.ลงเข็มไมโครไพล์+ไม่ยึดตัวบ้าน

ข้อดีข้อเสีย
-  ลงได้ลึกถึงชั้นดินแข็งโอกาสทรุดตัวน้อย
-  รับน้ำหนักได้เยอะ
-  ถ้าเกิดทรุดตัวจะไม่ส่งผลกระทบกับตัวบ้าน
- ราคาสูงกว่ายึดตัวบ้านเนื่องจากต้องเพิ่มปริมาณเสาเข็มเพิ่ม     
-  ต้องลงเข็มห่างจากขอบเสาหรือกำแพงโครงการ 50 ซม.
-  มีเสาด้านในตัวบ้าน ถ้าเก็บงานไม่เรียบร้อยอาจจะไม่สวยงาม

 


เสาเข็มชนิดที่สองที่ช่างส่วนใหญ่มักจะนิยมให้เราใช้กันนั้น จะเป็นเสาเข็มแบบสั้น นั้นก็คือ

2.เสาเข็มปูน 6 เหลี่ยม

เสาเข็มชนิดนี้ หากเราได้ใช้งานต้องเตรียมใจเลยว่าจะทรุดเร็วกว่าตัวบ้านแน่นอน เนื่องจากเสาเข็มชนิดนี้เป็นเสาเข็มแบบสั้นจะลงไปไม่ถึงชั้นดินแข็งจะอยู่เพียงชั้นดินอ่อนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการเพิ่มความยาวและจำนวนเสาเข็มอาจจะสามารถช่วยชะลอการทรุดตัวได้มากขึ้น แต่! จะใช้เสาเข็มยาวแค่ไหน ใช้กี่ต้นในส่วนนี้ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษากับทางวิศวกรเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมก่อน และหากเราใช้เสาเข็มแบบนี้ เราควรจะเลือกใช้วัสดุและเฟอร์นิเจอร์ที่น้ำหนักเบาเข้าไว้เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว ซึ่งโดยปกติแล้วช่างจะต่อเติมได้สองแบบดังนี้



2.1 เสาเข็มปูน 6 เหลี่ยม + ยึดตัวบ้าน

ข้อดีข้อเสีย
-  ราคาไม่สูง
-  สามารถลงใกล้เสาหรือกำแพงโครงการได้
-  ลดอัตราการทรุดตัวได้ระดับหนึ่ง(ดีกว่าไม่ลงเสาเข็ม)
-  มีโอกาสทรุดตัวได้เร็วกว่าตัวบ้าน         
-  หากทรุดตัวจะทำให้ตัวบ้านเสียหายเพราะยึดติดตัวบ้าน



2.2 เสาเข็มปูน 6 เหลี่ยม + ไม่ยึดตัวบ้าน

ข้อดี 
ข้อเสีย
-  สามารถลงใกล้เสาหรือกำแพงโครงการได้
-  ลดอัตราการทรุดตัวได้ระดับหนึ่ง(ดีกว่าไม่ลงเสาเข็ม)
-  เมื่อทรุดตัวไม่ส่งผลทำให้ตัวบ้านเสียหาย
-  มีโอกาสทรุดตัวได้เร็วกว่าตัวบ้าน        
-  ราคาสูงกว่าแบบยึดตัวบ้าน
-  มีเสาด้านในตัวบ้าน ถ้าเก็บงานไม่เรียบร้อยอาจจะไม่สวยงาม


จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า โครงสร้างของครัวที่เราต่อเติมนั้นควรจะเป็นโครงสร้างที่ไม่ยึดกับตัวบ้าน โดยเราจะไม่นำเสาหรือคานมาฝากไว้กับตัวบ้าน เพราะหากครัวที่เราต่อเติมเกิดการทรุดตัว บ้านและครัวจะแยกกันอย่างอิสระ ครัวจะไม่ดึงรั้งทำให้ตัวบ้านทรุดตัวตามลงมา ถ้าหากตัวบ้านของเราทรุดตามลงมาจะกลายเป็นปัญหาที่อันตรายและแก้ไขได้ยากมาก  



จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลทั้งหมดเราจะสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าจะต่อเติมครัวและลงเสาเข็มแบบไหน แนวทางต่อมาคือการเลือกใช้วัสดุส่วนอื่นๆ ที่เหมาะสมกับเสาเข็มแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุผนัง หลังคา เคาน์เตอร์ครัว หรือเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย T STEEL DESIGN


บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจเช็คบ้านเบื้องต้นหลังเกิดแผ่นดินไหว ด้วยตนเอง !!
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว บ้านและอาคารที่พักอาศัยอาจได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งอาจส่งผลให้โครงสร้างเกิดความเสียหายได้..
ประเภทของโครงสร้างบ้าน
โครงสร้างบ้านสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่...
หล็กก่อสร้าง, ประเภทของเหล็ก, โครงสร้างเหล็ก, งานก่อสร้างเหล็ก, เหล็กเส้น, เหล็กรูปพรรณ, เหล็กโครงสร้าง, เหล็กเส้นกลม, เหล็กข้ออ้อย, เหล็กตัวซี, เหล็กกล่อง, เหล็กแผ่น, เหล็กไวแฟรงค์, เหล็กฉาก, ท่อเหล็ก, H-Beam, I-Beam, WF Beam, เหล็กแผ่นลาย, เหล็กแผ่นเรีย
ในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นงานต่อเติมบ้าน งานโครงสร้าง หรือแม้แต่งานเฟอร์นิเจอร์ เราต้องเลือกใช้เหล็กให้เหมาะสม เพื่อความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับประเภทของเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างกันครับ!
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy